“ดาวฤกษ์กลืนดาวเคราะห์” อนาคตที่จะเกิดขึ้นกับโลก-

นักดาราศาสตร์รายงานพบการระเบิดของแสงที่รุนแรงจากการที่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งถูกดาวฤกษ์กลืนกิน ซึ่งเป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่รอโลกอยู่เมื่อดวงอาทิตย์ขยายตัวอย่างรวดเร็วขณะใกล้สิ้นอายุขัยในอนาคตอันไกล

นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถจับภาพช่วงเวลาที่ดาวฤกษ์อายุมากพองตัวขึ้นจนเริ่มกลืนกินดาวเคราะห์ใกล้เคียงได้แบบเรียลไทม์ การกลืนกินนั่นก่อให้เกิดก๊าซและฝุ่นจำนวนมาก ก่อนที่ท้ายที่สุดดาวเคราะห์นั้นจะจมสลายหายไปในดาวฤกษ์ที่ลุกเป็นไฟในที่สุด

คิชาเลย์ เด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) หัวหน้าทีมผู้ค้นพบครั้งนี้ กล่าวว่า “เช่นเดียวกับการค้นพบหลาย ๆ อย่างในทางวิทยาศาสตร์ นี่เป็นการค้นพบโดยบังเอิญที่ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์รูปแบบใหม่ … นี่จะเป็นชะตากรรมสุดท้ายของโลกในอนาคต”

ในปี 2020 เดเห็นการระเบิดของแสงท่ามกลางการสังเกตที่ถ่ายโดย Zwicky Transient Facility ที่หอดูดาวพาโลมาร์ในแคลิฟอร์เนีย พบว่าเกิดจากดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไป 12,000 ปีแสง ใกล้กับกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) โดยแสงที่เกิดขึ้นนั้นสว่างขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติ 200-300 เท่าในเวลาเพียง 10 วัน

พบ “ไอน้ำ” ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

ระบบสุริยะยังมีดาวเคราะห์อีกดวง? รู้จักทฤษฎี “ดาวเคราะห์ X”

นักดาราศาสตร์เผยภาพใหม่ “ลำอนุภาค” พุ่งออกมาจากหลุมดำ

ในตอนแรก นักวิจัยในทีมตั้งสมมติฐานว่า แสงดังกล่าวเกิดจากการรวมตัวกันของดาวฤกษ์ โดยดาวดวงหนึ่งดูดกลืนดาวอีกดวงหนึ่ง

แต่การสังเกตการณ์เพิ่มเติมจากหอดูดาว Keck ในฮาวาย ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดนี้ เพราะการรวมตัวของดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะต้องเกิดก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมออกมา แต่ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่พบสัญญาณของก๊าซทั้งสองชนิด

เดกล่าวว่า การสำรวจเพิ่มเติมด้วยกล้องอินฟราเรดที่หอดูดาวพาโลมาร์แสดงให้เห็นว่า ดาวฤกษ์นั้น “สว่างอย่างเหลือเชื่อ” และบอกว่า หลังจากเกิดแสงวาบครั้งแรก ดาวฤกษ์ก็พ่นก๊าซที่เย็นกว่าออกมา และควบแน่นเป็นฝุ่นซึ่งมองเห็นได้ที่ ความยาวคลื่นอินฟราเรด

ต่อมาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรด Neowise ของนาซา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การระเบิดดังกล่าวอยู่ในระดับแผ่วเบามาก นั่นหมายความว่า อะไรก็ตามที่ตกลงไปในดาวฤกษ์นั้น มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 1,000 เท่า “นั่นคือตอนที่เรารู้ว่า นี่คือเหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์ชนเข้ากับดาวฤกษ์” เดกล่าว

เมื่อรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน เดเชื่อว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี (ใหญ่กว่าโลก 11 เท่า) ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ของมัน โดยโคจรครบวงโคจรภายในเวลาไม่ถึง 1 วันบนโลก

จากนั้นในช่วง 9 เดือนก่อนที่จะเกิดระเบิดแสง ดาวเคราะห์ดวงนี้เริ่มขยับเข้าใกล้พื้นผิวของดาวฤกษ์ ก่อนที่ในที่สุดมันจะพุ่งเข้าสู่ดาวฤกษ์ในที่สุด เกิดแสงสว่างขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วจางหายไป

“ดาวฤกษ์ดวงนั้น ณ วันนี้ดูคล้ายกับก่อนที่จะเกิดการปะทุมาก เว้นแต่จะถูกล้อมรอบด้วยฝุ่นที่ถูกขับออกมาระหว่างการกลืนดาว” เด

ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อดาวฤกษ์มีระดับเชื้อเพลิงขณะสิ้นอายุขัย มันจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นถึง 1 ล้านเท่าของขนาดเดิม และกลืนกินดาวเคราะห์ใกล้เคียงไปในกระบวนการนี้

ตามการคำนวณของนักวิทยาศาสตร์ เมื่อดวงอาทิตย์ของเรามาถึงจุดนี้ในอนาคตอันไกลโพ้น มันจะพองตัวมากพอที่จะกลืนกินดาวพุธ ดาวศุกร์ และโลกไป

มอร์แกน แม็กลอยด์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “สิ่งนี้จะเกิดขึ้นในอีกประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ..คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง. เราคิดว่าดาวเคราะห์จะไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอีกแล้วในช่วงเวลานั้น เพราะดวงอาทิตย์จะเพิ่มขนาดขึ้น ดังนั้นน้ำทั้งหมดจะระเหยออกจากโลกและมันจะไม่ใช่สถานที่ที่น่าอยู่อีกต่อไป”

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก IPAC (Caltech)

นักดาราศาสตร์รายงานพบการระเบิดของแสงที่รุนแรงจากการที่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งถูกดาวฤกษ์กลืนกิน ซึ่งเป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่รอโลกอยู่เมื่อดวงอาทิตย์ขยายตัวอย่างรวดเร็วขณะใกล้สิ้นอายุขัยในอนาคตอันไกล นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถจับภาพช่วงเวลาที่ดาวฤกษ์อายุมากพองตัวขึ้นจนเริ่มกลืนกินดาวเคราะห์ใกล้เคียงได้แบบเรียลไทม์ การกลืนกินนั่นก่อให้เกิดก๊าซและฝุ่นจำนวนมาก ก่อนที่ท้ายที่สุดดาวเคราะห์นั้นจะจมสลายหายไปในดาวฤกษ์ที่ลุกเป็นไฟในที่สุด คิชาเลย์ เด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) หัวหน้าทีมผู้ค้นพบครั้งนี้ กล่าวว่า “เช่นเดียวกับการค้นพบหลาย ๆ อย่างในทางวิทยาศาสตร์ นี่เป็นการค้นพบโดยบังเอิญที่ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์รูปแบบใหม่ … นี่จะเป็นชะตากรรมสุดท้ายของโลกในอนาคต” ในปี 2020 เดเห็นการระเบิดของแสงท่ามกลางการสังเกตที่ถ่ายโดย Zwicky Transient Facility ที่หอดูดาวพาโลมาร์ในแคลิฟอร์เนีย พบว่าเกิดจากดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไป 12,000 ปีแสง ใกล้กับกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) โดยแสงที่เกิดขึ้นนั้นสว่างขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติ 200-300 เท่าในเวลาเพียง 10 วัน พบ “ไอน้ำ” ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ระบบสุริยะยังมีดาวเคราะห์อีกดวง? รู้จักทฤษฎี “ดาวเคราะห์ X” นักดาราศาสตร์เผยภาพใหม่ “ลำอนุภาค” พุ่งออกมาจากหลุมดำ ในตอนแรก นักวิจัยในทีมตั้งสมมติฐานว่า แสงดังกล่าวเกิดจากการรวมตัวกันของดาวฤกษ์ โดยดาวดวงหนึ่งดูดกลืนดาวอีกดวงหนึ่ง แต่การสังเกตการณ์เพิ่มเติมจากหอดูดาว Keck ในฮาวาย ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดนี้ เพราะการรวมตัวของดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะต้องเกิดก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมออกมา แต่ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่พบสัญญาณของก๊าซทั้งสองชนิด เดกล่าวว่า…